วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556

บาร์โค้ด แต่ละประเภท เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด

บาร์โค้ด แต่ละประเภท เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร       ชนิดของบาร์โค้ด - GTIN 13 เป็นบาร์โค้ดที่ใช้ติดบนสินค้าสำหรับขายปลีกทั่วไป - GTIN 14 เป็นบาร์โค้ดใช้สำหรับสินค้าค้าส่ง โดยสามารถบอกถึงความแตกต่างของหน่วยบรรจุภัณฑ์ - GS1-128 เป็นบาร์โค้ดที่สามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งตัวเลขและตัวอักษร จึงสามารถบันทึกข้อมูลของสินค้าได้มาก เช่น หน่วยวัดต่างๆ,เลขหมายลำดับการขนส่ง,เลขหมาย batch/lot,วันหมดอายุและสถานที่ตั้ง เป็นต้น ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ และซัพพลายเชนและระบบการสืบค้นย้อนกลับ (traceability) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 10 ขั้นตอนการประยุกต์ใช้บาร์โค้ด 10 ขั้นตอนการประยุกต์ใช้บาร์โค้ด เพื่อยกระดับในการดำเนินธุรกิจ เป็นการรวบรวมกระบวนการหลักที่สำคัญของการใช้งานบาร์โค้ดให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพต่อการดำเนินธุรกิจ อีกทั้งสามารถนำไปพัฒนาหรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการใช้งานบาร์โค้ดได้อย่างแท้จริง โดย 10 ขั้นตอนมีดังนี้ Step 1 การกำหนดเลขหมายนำหน้าบริษัท Step 2 การกำหนดเลขหมายประจำตัวสินค้า Step 3 การเลือกวิธีจัดพิมพ์บาร์โค้ด Step 4 การเลือกคุณลักษณะขั้นต้นของการสแกนบาร์โค้ด Step 5 การเลือกใช้บาร์โค้ดสำหรับผลิตภัณฑ์ Step 6 การเลือกขนาดของบาร์โค้ด Step 7 รูปแบบการกำหนดตัวอักษรในบาร์โค้ด Step 8 การเลือกคู่สีของแท่งบาร์โค้ด Step 9 การวางตำแหน่งบาร์โค้ด Step 10 วางแผนควบคุมคุณภาพบาร์โค้ด การตรวจสอบคุณภาพบาร์โค้ด ปัจจุบัน มีการใช้เทคโนโลยีบาร์โค้ดตามระบบมาตรฐานสากล GS1 ในการบริหารจัดการร่วมกับ Software ต่าง ๆ ในการดำเนินงานธุรกิจอย่างกว้างขวาง เช่น การชำระเงิน ณ จุดขาย, การสแกนรับสินค้าเข้า Stock หรือตัดจ่ายสินค้าออกจาก Stock, การบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ทางด้าน Traceability เป็นต้น และสามารถใช้งานได้กับทุกหน่วยงานใน Supply Chain ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ โดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่ได้เล็งเห็นความสำคัญของบาร์โค้ดมากขึ้น สังเกตได้จากมีการตั้งข้อกำหนดทางการค้าที่เกี่ยวกับบาร์โค้ดเกิดขึ้น เช่น ในการนำสินค้าเข้าห้างต้องมีการติดบาร์โค้ดที่ตัวสินค้า หรือการติดต่อค้าขายกับบางประเทศจะมีการขอใบรับรองคุณภาพบาร์โค้ด ซึ่งหากบาร์โค้ดของสินค้ามีปัญหาไม่สามารถสแกนได้จะเกิดผลกระทบตลอดทั้ง Supply Chain บาร์โค้ดจึงเป็นตัวแปรสำคัญในการดำเนินธุรกิจ การตรวจสอบคุณภาพบาร์โค้ด (Barcode Verification) ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกๆ จุดของ Supply Chain และมั่นใจได้ว่าบาร์โค้ดที่ผลิตออกมาในแต่ละ Lot ได้คุณภาพหรือไม่นั้น จำเป็นต้องมีการการทดสอบ และเปรียบเทียบสัญลักษณ์กับมาตรฐานคุณภาพของการพิมพ์ และข้อมูล เพื่อให้ทราบว่าบาร์โค้ดอ่านค่าได้ดีแค่ไหน เพื่อทำให้เกิดความมั่นใจว่าสัญลักษณ์ จะทำงานตรงตามวัตถุประสงค์ในทุก ๆ ขั้นตอนที่สินค้าเคลื่อนที่ในสาย Supply Chain เพื่อลดปัญหาระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ หรือต้นทุนที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งในการตรวจสอบคุณภาพบาร์โค้ดนั้นไม่สามารถใช้เครื่องสแกนทั่วไปในการตรวจสอบได้ แต่ต้องใช้เครื่องมือเฉพาะที่เรียกว่า Barcode Verifier เนื่องจากว่า เครื่องสแกนถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการอ่านเท่านั้น แต่เครื่อง Barcode Verifier จะถูกออกแบบมาเพื่อทำการวัดค่าต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นซึ่งส่งผลต่อคุณภาพของบาร์โค้ด และสามารถทราบได้ว่าต้องปรับปรุงบาร์โค้ดที่จุดใดเพื่อให้ได้คุณภาพตาม มาตรฐานที่กำหนด อีกทั้งเครื่องสแกนแต่ละตัวมีคุณสมบัติที่ต่างกัน เช่น ขนาดของรูรับแสง ระบบการถอดรหัส (decode algorithms) ดังนั้นถ้าเครื่องสแกนเครื่องหนึ่งสามารถอ่านได้ ไม่ได้หมายความว่าเครื่องสแกนเครื่องอื่นๆจะสามารถอ่านสัญลักษณ์บาร์โค้ดนี้ ได้เช่นเดียวกัน สถาบัน รหัสสากล ได้ให้บริการรับตรวจสอบคุณภาพบาร์โค้ดตามมาตรฐาน ISO/IEC15416 และมาตรฐานสากล GS1 พร้อมทั้งออกใบรับรองผลการตรวจสอบคุณภาพบาร์โค้ด โดยมีอัตราค่าตรวจสอบคุณภาพดังนี้ - สำหรับผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสถาบันรหัสสากล มีค่าใช้จ่าย 500 บาทต่อ 1 ใบรับรอง - สำหรับผู้ที่เป็นสมาชิกสถาบันรหัสสากล ได้รับสิทธิประโยชน์ตรวจสอบคุณภาพบาร์โค้ดโดยไม่มีค่าใช้จ่าย 20 ใบรับรอง / ปี สำหรับหมายเลขที่เกินสิทธิประโยชน์มีอัตราค่าใช้จ่าย 250 บาท ต่อ 1 ใบรับรอง การคำนวณตัวเลขตรวจสอบ (Check Digit) เลขตรวจสอบ (Check Digit) เป็นหมายเลขหลักสุดท้ายที่วางอยู่ในตำแหน่งขวาสุดของชุดตัวเลขบาร์โค้ด และ “Check Digit” นี้เกิดขึ้นจากการคำนวณเท่านั้น ซึ่งจะไม่สามารถระบุกำหนดค่าตัวเลขนี้เองได้ เนื่องจากหากมีการระบุให้หลักสุดท้ายเป็นเลข 9 หรือเลขอื่นตามที่ต้องการนั้น ทั้งๆ ที่ Check Digit ที่คำนวณออกมาไม่ใช่เลขนั้น ก็จะมีปัญหาเกิดขึ้นทันที คือ เครื่องสแกนเนอร์จะไม่สามารถอ่านค่าสัญลักษณ์บาร์โค้ดนั้นได้ คำนวณตัวเลขตรวจสอบ เลขหมายประจำตัวสินค้า (Global Trade Item Number: GTIN) การระบุตัวตนของสินค้า (Identification of Trade Items) อาศัยเลขหมายประจำตัวสินค้าสากล (GTIN : Global Trade Item Number) โดยเลขหมายดังกล่าวใช้บ่งชี้เฉพาะรายการสินค้า ที่ใช้ในการทำธุรกรรมธุรกิจทั่วโลก ซึ่งหมายถึงรายการใดๆ ก็ตามไม่ว่าจะเป็นตัวสินค้าหรือบริการ ที่สามารถใช้ในการอ้างอิงเพื่อจัดเก็บและค้นหาข้อมูลในระบบฐานข้อมูลระหว่างคู่ค้า อาทิเช่น ชนิดสินค้า, การกำหนดราคา, การสั่งซื้อ, หรือการจัดส่งสินค้า เป็นต้น โดยเลขหมายประจำตัวสินค้าจะประกอบด้วย รหัสประเทศ, เลขหมายประจำตัวสมาชิกหรือรหัสประจำตัวบริษัท, รหัสประจำตัวสินค้าที่ผู้ใช้งานเป็นผู้กำหนดเอง และตัวเลขตรวจสอบที่ได้จากการคำนวณ เลขหมายประจำตำแหน่งที่ตั้ง (Global Location Number : GLN) เลขหมาย GLN ถูกนำมาใช้เพื่อบ่งชี้ การเป็นหน่วยงานที่ถูกต้องทางกฏหมายของการเป็นองกรหนึ่ง หรือบริษัทใดบริษัทหนึ่ง เลขหมาย GLN นี้ยังถูกนำมาใช้บ่งชี้สถานที่ตั้งทางกายภาพ หรือหน้าที่ของหน่วยงาน และแผนกงานในองค์กร เลขหมายประจำตำแหน่งที่ตั้งสากล หรือ GLN เป็นเลขหมายบ่งชี้ที่ใช้แทนหน่วยที่ตั้งองค์กรทางกายภาพหรือหน่วยทางหน้าที่หรือหน่วยงานที่ถูกต้องทางกฏหมาย การใช้เลขหมายประจำตำแหน่งเหล่านี้ เป็นข้อกำหนดบังคับเบื่องต้น สำหรับการใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพ DataBar : RSS (Reduced Space Symbology) GS1 DataBar คือบาร์โค้ดอีกรูปแบบหนึ่งที่มีขนาดเล็ก และบันทึกข้อมูลได้มากกว่าบาร์โค้ดในรูปแบบ EAN/UPC ซึ่งในอดีตมีชื่อเรียกว่า RSS (Reduced Space Symbology) โดยบาร์โค้ด GS1 DataBar นี้สามารถบรรจุข้อมูลที่สามารถทำการสืบย้อนกลับที่มาของสินค้าได้ ซึ่งถือว่าเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ส่งออกสามารถจำหน่ายสินค้าไปยังประเทศที่ มีมาตรการด้านความปลอดภัยที่เข้มงวดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยบาร์โค้ด GS1 DataBar สามารถระบุการใช้งานร่วมกับหมายเลข Application Identifiers (AIs) เช่น ข้อมูลวันที่ผลิต, วันที่หมดอายุ, น้ำหนัก เป็นต้น จากความสามารถดังกล่าวทำให้ GS1 DataBarเป็นบาร์โค้ดที่เหมาะสมกับการระบุสินค้าที่มีหน่วยการขายไม่คงที่ (Variable measure product) เช่น อาหารสด ผลไม้ หรืออาจใช้กับสินค้าที่มีขนาดเล็ก เช่นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงสินค้าที่มีราคาแพง เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมยา อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง และอัญมณี เป็นต้น การ ใช้งานบาร์โค้ด GS1 DataBar นอกจากจะมีการใช้กับสินค้าปลีกแล้ว สามารถใช้กับสินค้าส่ง ณ จุดกระจายสินค้าได้อีกด้วย เนื่องจากโครงสร้างของ GS1 DataBar นั้นรองรับระบบ GTIN-14 ที่สามารถรวมอยู่ในสัญลักษณ์บาร์โค้ด GS1 DataBar จึงเป็นไปได้ว่าจะมีการใช้งาน DataBar เพื่อการกระจายสินค้าในอนาคต คณะกรรมการ GS1 Global ได้กำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2557 เป็นวันเริ่มต้นการใช้งาน GS1 DataBar อย่างเป็นทางการทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันได้มีการนำ GS1 DataBar มาใช้ ณ จุด POS (Point-of-Sale) บ้างแล้ว โดยกำหนดให้ POS ทุกๆ จุดมีความพร้อมในการรองรับ GS1 DataBar ทั้งในส่วนของข้อมูลทางเทคนิค ขั้นตอนการระบุการใช้งาน Application Identifiers (AIs) และเครื่องมือที่ใช้สนับสนุนระบบการค้าปลีกทั้งหมด ประโยชน์ของ GS1 DataBar ที่มีต่อธุรกิจ 1. สามารถระบุความแตกต่างของสินค้าได้เป็นรายชิ้น 2. เพิ่มความแม่นยำในการบ่งชี้ตัวสินค้าที่มีปริมาณน้ำหนักที่ไม่แน่นอน 3. ลดกระบวนการควบคุมการทำงาน 4. เพิ่มความสามารถในการสืบย้อนกลับ 5. เพิ่มประสิทธิภาพในการเติมเต็มสินค้าในคลังสินค้า 6. จัดการในส่วนที่บาร์โค้ดในระบบเดิมไม่ครอบคลุม 7. ช่วยในการจัดการข้อมูลให้สะดวกขึ้น 8. สามารถใส่ราคาสินค้าได้มากกว่า 4 หลัก (ระบบเดิมระบุได้เพียง 99.99) 9. ช่วยจัดการข้อมูลเกี่ยวกับผู้จำหน่าย หรือวันที่หมดอายุ 10. ช่วยจัดการข้อมูลในส่วนของน้ำหนักสินค้า 11. เพิ่มความสามารถในการสแกนที่ใช้ร่วมกับสินค้าที่มีขนาดเล็ก 12. ทำให้ทราบถึง ECR (Efficient Consumer Response) 13. ตอบสนองความสามารถของผู้ซื้อสินค้าได้มากกว่าระบบบาร์โค้ด 14. ความสามารถในการควบคุมการลดราคาสินค้า 15. สามารถสืบย้อนกลับข้อมูลของประเทศผู้ผลิต 16. ความสามารถในการระงับการขายสินค้าที่หมดอายุ และการเรียกคืนสินค้า 17. เพิ่มความพอใจของลูกค้าที่สามารถสืบย้อนกลับข้อมูลของสินค้าได้ด้วยตนเอง ตัวอย่างสัญลักษณ์ GS1 DataBar ในรูปแบบต่างๆ 1. GS1 DataBar Stacked Omnidirectional เหมาะสำหรับการระบุสินค้าอาหารสด และสินค้าที่มีขนาดเล็ก สามารถบันทึกข้อมูลเลขหมาย GTIN เท่านั้น 2. GS1 DataBar Omnidirectional เหมาะสำหรับการระบุสินค้าที่มีขนาดเล็ก สามารถ 3. GS1 DataBar Expanded เหมาะสำหรับการระบุสินค้าที่มีปริมาตรน้ำหนักที่ไม่แน่นอน สามารถบันทึกข้อมูลเลขหมาย GTIN และรายละเอียดที่จำเป็นเพิ่มเติมได้ 4. GS1 DataBar Expanded Stacked เหมาะสำหรับการระบุสินค้าที่มีปริมาตรน้ำหนักที่ไม่แน่นอน สามารถบันทึกข้อมูลเลขหมาย GTIN และรายละเอียดที่จำเป็นเพิ่มเติมได้    
ดูข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รุ่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ : http://www.vayomerchant.com/pos/Barcode-Printer บริษัทขายส่ง อุปกรณ์ POS & IT และ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ครบวงจร บาร์โค้ด แต่ละประเภท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น